เรื่องที่ควรรู้ของคอนกรีตผสมเสร็จ




คอนกรีตผสมเสร็จเมื่อหล่อและถอดแบบแล้วก็มีความแข็งแรงเหมือนดั่งหิน แต่ในความเป็นจริงแล้ว คอนกรีตผสมเสร็จที่ใช้งานของโครงสร้างที่ไม่เหมือนกัน จะมีค่าความแข็งแรง (STRENGTH) ไม่เท่ากัน ดังเช่นคอนกรีตผสมเสร็จที่สร้างบ้าน ก็จะมีความแข็งแรงน้อยกว่าคอนกรีตผสมเสร็จที่ใช้สร้างอาคารขนาดใหญ่ ซึ่งความแข็งแรงของคอนกรีตผสมเสร็จมีหน่วยวัดเป็น แรง/ตร.ซม. (กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร)

การเลือกใช้คอนกรีตผสมเสร็จ


ลักษณะของคอนกรีตในแบบก่อสร้าง ผู้ออกแบบจะกำหนดกำลังอัดของคอนกรีตมาในแบบอยู่แล้ว แต่หลักที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม คือ ระยะทางในเดินทางจากโรงผลิตจึงถึงจุดเทหรือหน้างานใช้เวลาเท่าไร บางโครงสร้างกำหนดใช้คอนกรีตที่มีกำลังสูงมากแล้วสภาพของคอนกรีตก็จะมีความข้นเหลวมาก การก่อตัวเร็ว ดังนั้นจะทำอย่างไรที่จะทำให้คอนกรีตข้นเหลวพอดีแล้วการไหลเข้าแบบได้ดีดังที่กล่าวมานั้นมันขึ้นอยู่ส่วนผสมของคอนกรีต วัตถุดิบที่ใช้ สารผสมเพิ่ม อุณหภูมิ ความชื้นของอากาศ ที่เป็นปัจจัยที่ทำให้คอนกรีตตัวช้าหรือเร็ว

คอนกรีตผสมเสร็จที่ดีกับคอนกรีตผสมเสร็จที่ไม่ดีต่างกันอย่างไร


- คอนกรีตผสมเสร็จที่ดี : ต้องเป็นคอนกรีตที่มีคุณสมบัติเป็นที่น่าพอใจ ทั้งในสภาพคอนกรีตเหลว ตั้งแต่การผสม การลำเลียงจากเครื่องผสม การเทลงแบบหล่อ การอัดแน่น และในสภาพคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว ซึ่งหมายความว่าคอนกรีตจะต้องมีความข้นเหลวที่จะให้การอัดแน่นในแบบหล่อคอนกรีตให้เป็นไปตามวิธีการที่ต้องการ โดยไม่ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก รวมทั้งส่วนผสมจะต้องมีการยึดเกาะกันอย่างเพียงพอสำหรับวิธีการเทคอนกรีตที่จะใช้ โดยไม่มีการแยกตัว ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดการไม่สม่ำเสมอในเนื้อคอนกรีต และเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว ต้องได้กำลังอัดตามข้อกำหนด นอกจากนี้ยังต้องมีคุณสมบัติอื่นๆ อีก เช่น ความหนาแน่น ความทนทาน ความสามารถรับแรงดึง ความต้านทานการซึมผ่านการน้ำหรือของเหลว ความต้านทานต่อแรงกระแทรกและการเสียดสี การทนต่อการกัดกร่อนจากซัลเฟต และอื่นๆ

- ส่วนคอนกรีตผสมเสร็จที่ไม่ดี : โดยทั่วไปแล้วจะมีความข้นเหลวไม่เหมาะสมกับการใช้งาน เมื่อแข็งตัวจะมีรูโพรง และไม่เป็นเนื้อเดียวกันทั้งโครงสร้าง

ว่าด้วยเรื่องของคอนกรีตผสมเสร็จที่ดี

ในการทำคอนกรีตผสมเสร็จต้องมีกระบวนการผลิตที่เป็นขั้นตอน เพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีคุณสมบัติสม่ำเสมอ ทั้งทางด้านความสามารถเทได้ (Workability) กำลัง (Strength) ความต้านทานการซึมผ่านของน้ำ (Permeability) และความทนทาน (Durability)

ความแข็งแรงของคอนกรีตผสมเสร็จ

ซึ่งผู้ออกแบบหรือวิศวกรโครรงสร้างจะต้องมีระบุไว้ในแบบก่อสร้างทุกโครงการว่า ได้มีการออกแบบโครงสร้างด้วยกำลังความแข็งแรงหรือกำลังอัด (Strength)ของคอนกรีตผสมเสร็จเท่าไร โดยในแบบก่อสร้างจะมีระบุไว้ในแบบแผ่นแรกๆ โดยมักจะเขียนไว้ว่าต้องการคอนกรีตผสมเสร็จที่มีกำลังเท่าไร เช่นเขียนไว้ว่าต้องการคอนกรีตผสมเสร็จกำลัง 240 ksc. (kilogram per square centimeter)

ค่ากำลังอัดของคอนกรีตผสมเสร็จ


ค่ากำลังอัดนี้ได้มาจากการเก็บตัวอย่างคอนกรีตผสมเสร็จเป็นทรงกระบอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 ซม. และสูง 30 ซม. นำมากดจนแตก และวัดค่าแรงที่ต้องใช้ในการกด (อาจเก็บเป็นรูปลูกบาศก์ขนาด 15 x 15 ซม.) และค่ากำลังของคอนกรีตผสมเสร็จที่จะพัฒนาจนสูงสุดอยู่ที่ 28 วัน ดังนั้นในการก่อสร้างเมื่อมีการเทคอนกรีตผสมเสร็จคาน จึงต้องรอจนคอนกรีตผสมเสร็จแข็งตัว และมีกำลังอัดพอเพียงที่จะไม่แตกร้าว โดยทั่วไปยอมให้ที่ระยะเวลาครึ่งหนึ่งจึงจะถอดค้ำยันท้องคานได้ 14 วัน ส่วนด้านกำลังอัดของคอนกรีตผสมเสร็จ ที่ใช้ออกแบบและก่อสร้างตามกำหนดของกรุงเทพมหานคร คือ 173 ksc. และต่างจังหวัดอยู่ที่ 144 ksc. จะเห็นได้ว่าค่ากำลังคอนกรีตผสมเสร็จไม่สูงมากนัก เนื่องจากการสร้างบ้านโดยทั่วไป บางครั้งผู้ที่ทำการก่อสร้างอาจไม่ได้มีการควบคุมคุณภาพที่พอเพียง จึงต้องกำหนดให้ค่ากำลังคอนกรีตผสมเสร็จไม่สูง แต่ในกรณีที่เป็นการก่อสร้างอาคารสูง กำลังของคอนกรีตผสมเสร็จที่ใช้ออกแบบ อย่างต่ำก็ต้อง 240 ksc. และอาจสูงไปถึง 500 ksc. ซึ่งต้องมีการควบคุมและผสมอย่างถูกต้อง จึงจะได้คอนกรีตผสมเสร็จที่มีกำลังสูง รวมทั้งต้องใช้ปูนซีเมนต์ชนิดพิเศษที่มีค่ากำลังสูงเป็นส่วนผสม

ดังนั้น คุณสมบัติหลักของคอนกรีตผสมเสร็จที่มนุษย์สร้างขึ้นให้มีความแข็งแกร่งเหมือนกับหินในธรรมชาติ คือ ความสามารถในการรับแรงกด (Compression) แต่ความสามารถทางรับแรงดึง (Tension) ถือว่าต่ำมาก จึงจำเป็นต้องมีวัสดุอีกอย่างในการนำมาใช้ร่วมกับคอนกรีตผสมเสร็จ ซึ่งก็คือเหล็กเส้น เพื่อเป็นส่วนรับแรงดึงแทน

ความคิดเห็น