เหล็กข้ออ้อยคืออะไรและใช้ทำอะไร

เหล็กข้ออ้อยคืออะไรและใช้ทำอะไร
เหล็กข้ออ้อยคืออะไรและใช้ทำอะไร 


เหล็กเส้นข้ออ้อย หรือที่มีอีกชื่อหนึ่งว่า Deformed Bar (DB) เป็นเหล็กเส้นชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นปล้องๆ คล้ายๆอ้อย โดยเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเส้นอยู่ที่ 6 มิลลิเมตร ถึง 40 มิลลิเมตร และมีความยาว 10 เมตรและ 12 เมตร สาเหตุที่เหล็กมีข้อก็เพราะเพื่อเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวกับคอนกรีต

ประเภทของเหล็กข้ออ้อยโดยแบ่งตามชั้นคุณภาพ


เหล็กข้ออ้อยตามมาตรฐาน มอก. 24-2548 กำหนดให้เหล็กข้ออ้อยมีชั้นคุณภาพหลายชั้น ดังนี้
SD30 คือ เหล็กที่ต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 3,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
SD40 คือ เหล็กที่ต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 4,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
SD50 คือ เหล็กที่ต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 5,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร


เหล็กข้ออ้อยมีส่วนประกอบทางเคมีโดยแบ่งตามชั้นคุณภาพ


ส่วนประกอบทางเคมี
ชั้นคุณภาพ
ส่วนประกอบทางเคมีไม่เกินร้อยละโดยน้ำหนัก
คาร์บอนสูงสุด
แมงกานีสสูงสุด
ฟอสฟอรัสสูงสุด
กำมะถันสูงสุด
คาร์บอน+แมงกานีส/6
SD 30
SD 40
SD 50
0.27
-
-
-
1.80
1.80
0.05
0.05
0.05
0.05
0.05
0.05
0.50
0.55
0.60

ประโยชน์ของเหล็กข้ออ้อย

ใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก ในการก่อสร้างแต่ละครั้งยังต้องมีการใช้งานควบคู่กับเหล็กเส้นกลมด้วย โดยทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับดุลพินิจของวิศวกรประจำโครงการ แต่ส่วนมากจะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นหลัก เพราะรับแรงได้ดีกว่าเหล็กเส้นกลม

เหล็กข้ออ้อย เป็นเหล็กที่มีแรงยึดเกาะที่ผิวสูง เหมาะสำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ต้องการความแข็งแรงสูงเช่น เขื่อน, สะพาน หรืองานก่อสร้างใดๆ ที่ต้องรับแรงอัดมากๆ และตึกที่มีความสูงมาก

การเลือกซื้อเหล็กข้ออ้อยที่ดี ดูได้จากอะไรบ้าง

หลักการพื้นฐานเลยคือ คือควรมีป้ายฉลากบอกรายละเอียดสินค้าให้ชัดเจน เพื่อบอกรายละเอียดที่เป็นข้อมูลสำคัญ ได้แก่
  • เครื่องหมายมอก. 
  • ขนาด(Size) 
  • ความยาว (Length) 
  • บริษัทผู้ผลิต ประเภทสินค้า (Type) 
  • ชั้นคุณภาพ (Grade) 
  • วันเวลาที่ผลิต (Date/Time) 

ขั้นตอนการผลิตเหล็กข้ออ้อย

การผลิตเหล็กข้ออ้อยในปัจจุบันนั้น ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบังคับ มอก. 24-2548 ซึ่งเป็นการปรับปรุงคุณภาพการผลิตมาจาก มอก.24-2536 ประการสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้คือ อนุญาตให้มีการผลิตโดยผ่านความวิธีกรรมทางความร้อน (heat treatment rebar) โดยผู้ผลิตจะต้องทำสัญลักษณ์ “T” ประทับเป็นตัวนูนบนเนื้อเหล็กเป้นการถาวรต่อท้ายจากชั้นคุณภาพเหล็ก เมื่อมีสัญลักษณ์ดังกล่าว จะแสดงตามนี้ เช่น SD50T จึงทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

จากบทความข้างต้น ได้กล่าวถึงความหมาย ประโยชน์ของเหล็กข้ออ้อย วิธีการเลือกซื้อเหล็กข้ออ้อย และมาตรฐานตามที่ มอก. กำหนดไว้ หวังว่าบอความนี้จะได้ประโยชน์กับผู้อ่านทุกคนนะคะ

ความคิดเห็น