ทุกคนคงรู้จักกับคำว่า “บ้าน” เพราะ บ้านเป็นที่พักอาศัยที่ที่ให้ความอบอุ่น ความสุขสบายทั้งกายและใจ มีหลายคนที่ปรารถนาอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง แต่ก็มีหลายคนที่มีบ้านแล้วต้องการที่จะตกแต่งบ้านเพื่อความสะดวกสบายและใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น เช่น อยากมีพื้นที่จอดรถก็ต้องใช้คอนกรีตในการทำหรือบางคนต้องการพื้นที่บ้านให้เป็นพื้นปูนมากกว่าสนามหญ้าก็มักนิยมเทคอนกรีต ดังนั้นเจ้าของบ้านควรรู้และศึกษาวิธีการในการปูพื้นคอนกรีตที่ถูกต้อง จะต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อความสวยงามของบ้านเรา ซึ่งวิธีการเทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กให้คงทนแข็งแรง มีดังนี้
วิธีเทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก
ขั้นตอนที่ 1 : การเตรียมพื้นดินเดิม
ปรับระดับดินเดิมให้เรียบไม่เป็นหลุมเป็นบ่อ
พื้นดินต้องบดอัดให้แน่นจากนั้นให้กั้นไม้แบบโดยวางแนวตามพื้นที่ที่ต้องการเทคอนกรีต
ในพื้นที่ความกว้างความยาวตามที่แบบกำหนดไว้ จากนั้นให้รองด้วยทรายแล้วบดอัดให้แน่นอีกครั้งหนึ่งจนได้ระดับความหนาตามที่ต้องการ
หากบดอัดไม่แน่นอาจเกิดการยุบตัวของทรายเมื่อเทคอนกรีตซึ่งทำให้ปริมาณคอนกรีตที่เทจะมากกว่าที่ได้คำนวณไว้การคำนวณปริมาณคอนกรีต
ที่จะใช้เทนั้นให้วัดจากพื้นที่จะเทคอนกรีตจริงภายหลังจากตั้งแบบและบดอัดแล้วหากคำนวณคอนกรีตน้อยกว่าความเป็นจริงแล้วจะทำให้ต้องสั่งคอนกรีตเพิ่มเติมภายหลังซึ่งจะเสียเวลาและอาจเกิดปัญหาคอนกรีตเทได้ไม่ต่อเนื่องคอนกรีตที่เทใหม่จะไม่ประสานเข้ากับคอนกรีตที่เทไปแล้ว
ขั้นตอนที่
2 : กำหนดความกว้างของพื้นในการเทคอนกรีตและตำแหน่งรอยต่อ
วางแนวของเส้นถนนความกว้างยาวตามแบบแต่ถ้าไม่มีแบบ
แนวนำความยาวของถนนในแต่ละช่วงควรไม่เกิน 6 เมตร เพราะการขยายและหดตัวของถนนจะทำให้เกิดรอยร้าวได้และควรทำตำแหน่งรอยต่อเพื่อลดการยืดของแผ่นพื้นที่เกิดจากการหดตัวแห้งของคอนกรีต
ซึ่งประเภทของรอยต่อ มีดังนี้
รอยต่อของพื้นมีอยู่
3 ประเภท คือ
1. รอยต่อเพื่อการหดตัว
(Contraction Joint) เป็นรอยต่อที่ทำไว้เพื่อบังคับให้แผ่นคอนกรีตแตกร้าวตรงแนวที่ได้กำหนดไว้เพื่อใช้ในการป้องกันการแตกร้าวที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของคอนกรีตที่เกิดขึ้น
2. รอยต่อเพื่อการเคลื่อนตัวอย่างอิสระ
(Isolation Joint or Expansion Joint) เป็นรอยต่อสำหรับพื้นให้เป็นอิสระไม่ติดกับโครงสร้างอื่นๆ
เช่น ถนน, ชานบ้าน, ทางเดินเท้า
บริเวณส่วนที่ติดกันนั้นจะต้องยินยอมให้สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างเป็นอิสระเพื่อทำให้เกิดรอยร้าวจากการยึดรั้งให้น้อยที่สุดเมื่อเกิดการเคลื่อนตัว
3. รอยต่อก่อสร้าง
(Construction Joint) เป็นรอยต่อที่เกิดจากบริเวณที่มีการเชื่อมต่อกันระหว่างผิวของคอนกรีตเก่ากับคอนกรีตใหม่
ซึ่งรอยต่อก่อสร้างนี้อาจจะออกแบบให้สามารถเคลื่อนตัวหรือสามารถถ่ายแรงได้
ขั้นตอนที่
3 : เทพื้นคอนกรีต
เทคอนกรีตแล้วปรับระดับตามที่ต้องการและให้เสริมตะแกรงเหล็ก
WIRE MESH ขนาด 6 mm @15cm
วางไว้ในเนื้อคอนกรีตโดยการวางตะแกรงเหล็ก WIRE MESH นี้ควรจะอยู่ในตำแหน่งต่ำกว่าผิวคอนกรีตประมาณ
5 cm เพื่อช่วยในการยึดเกาะของคอนกรีตทำให้ไม่แตกร้าวเมื่อมีการทรุดตัวของดินไม่มาก
ขั้นตอนที่
4 : ขัดผิวหน้าให้เรียบและทำลายกันลื่น
หลังจากวาง
WIRE MESH เสร็จแล้ว ขัดผิว
เพื่อไม่ให้มีเม็ดทรายโผล่ขึ้นมาและทำการปรับระดับแต่งผิว หน้าให้เรียบร้อยและกีดหน้าลายเพื่อกันลื่น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น