ทำความรู้จักกับเหล็กข้ออ้อย




เหล็กข้ออ้อยคืออะไร เหล็กข้ออ้อย เป็นเหล็กที่มีแรงยึดเกาะที่ผิวสูง  เหมาะสำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ต้องการความแข็งแรงสูง เช่น ตึกที่มีความสูงมากๆ สะพาน เขื่อน และงานก่อสร้างที่ต้องรับแรงอัดมากๆ เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม.-40 มม. ขนาดความยาว 10 เมตร 12 เมตร 



เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กเสริมในคอนกรีตที่เกิดจากการผ่านกรรมวิธีทางความร้อนโดยกระบวนการรีดร้อน โดยเหล็กข้ออ้อย SD30, SD40, SD50 มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 3000, 4000, 5000 ksc.ตามลำดับ โดยปกติจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง เช่น DB10(หาในตลาดทั่วไปยาก), DB12(หมายถึง Deformed Bar ขนาด ศก.12มม.), DB16, DB20, DB25, DB28, DB32 ผิวของเหล็กเส้นจะมีลักษณะเป็นปล้องเพื่อเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวให้เหล็กกับคอนกรีตมากขึ้น



การเลือกชนิดของเหล็กเส้นข้ออ้อย SD30, SD40, และ SD50 ขึ้นอยู่กับชนิดของโครงสร้างเป็นสำคัญ ลักษณะของเหล็กเส้นข้ออ้อยที่ดี
มีระยะบั้งที่เท่ากันและสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น
ไม่มีสนิมรอยตำหนิ ไม่มีรอยปริและแตกร้าว
ชนิดและความแตกต่างของเหล็กเส้นความยาวโดยปกติที่ขายกันในท้องตลาด คือ 10 ม. แต่อาจจะสั่งพิเศษ เช่น 12 ม. หรือมากกว่านั้นก็ต้องสั่งทำพิเศษ


ความแตกต่างของเหล็กข้ออ้อยและเหล็กเส้นกลม


• เหล็กเส้นกลม (Round Bars : RB)

◦ ขนาดหน้าตัด -> เหล็กเส้นกลมจะมีขนาดหน้าตัดประมาณตั้งแต่ 6 – 25 มม.

◦ การใช้งาน -> ใช้เป็นเหล็กปลอกรัดรอบเหล็กข้ออ้อยเป็นระยะๆ

• เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bars : DB)

◦ ขนาดหน้าตัด -> เหล็กข้ออ้อยจะมีขนาดหน้าตัดประมาณตั้งแต่ 10 – 32 มม.

◦ การใช้งาน -> ใช้ในการรับแรงเป็นหลัก เนื่องจากมีขนาดหน้าตัดใหญ่กว่า



การตรวจสอบคุณภาพเหล็ก

• บริษัทผู้ผลิต ประเภทสินค้า (Type)

• ชั้นคุณภาพ (Grade)

• ขนาด(Size)

• ความยาว (Length)

• วันเวลาที่ผลิต (Date/Time)

• เครื่องหมายมอก.

การนำไปใช้งาน

เหล็กข้ออ้อย เป็นเหล็กที่มีแรงยึดเกาะที่ผิวสูง เหมาะสำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ต้องการความแข็งแรงสูง เช่น ตึกที่มีความสูงมากๆ สะพาน เขื่อน และงานก่อสร้างที่ต้องรับแรงอัดมากๆ

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ม.อ.ก.)

เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กเส้นกลม (มอก.20-2543)

เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กข้ออ้อย (มอก.24-2548)

ความคิดเห็น